วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กลุ่ม 2 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive Theory)

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive Theory)
ปัญญานิยมหรือกลุ่มความรู้ความเข้าใจ หรือบางครั้งอาจเรียกว่ากลุ่มพุทธินิยม เป็นกลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด นักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิด จากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจากการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย และความสัมพันธ์ของข้อมูล และการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ความ เข้าใจให้แก่ตนเอง ซึ้งทฤษฎีปัญญานิยมนี้ เกิดขึ้นจากแนวคิดของชอมสกี้ (Chomsky) ชอมสกี้เชื่อว่า พฤติกรรมมนุษย์นั้นเป็นเรื่องของภายในจิตใจ มนุษย์ไม่ใช่ผ้าขาวที่เมื่อใส่สีอะไรลงไปก็จะกลายเป็นสีนั้น มนุษย์มีความนึกคิด มีอารมณ์จิตใจและความรู้สึกภายในที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นการออกแบบการเรียนการสอนก็ควรที่จะคํานึงถึงความแตกต่างภายในของ มนุษย์ด้วย

ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญของกลุ่มปัญญานิยม มีดังต่อไปนี้
1.ทฤษฏีการเรียนรู้ของกลุ่ม เกสตัลท์ ( Gestalt Theory) นักจิตวิทยาคนสำคัญของทฤษฎีนี้ คือ แมกซ์ เวอร์ไทม์เมอร์ (Max Wertheimer)วุล์ฟแกงค์ โคห์เลอร์(Wolfgang Kohler)เคิร์ท คอฟฟ์กา (Kurt Koffka)
2.ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory) ของทอลแมน (Tolman)
3.ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Intellectual Development Theory) นักจิตวิทยาคนสำคัญคือ เพียเจต์ (Piaget) และ บรุเนอร์ (Bruner)
4.ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย(A Theory of Meaningful VerbalLearnning)ของ ออซูเบล (Ausubel)
5.ทฤษฎีสนาม (Field Theory) นักจิตวิทยาคนสำคัญคือ เคิร์ท เลวิน (Kurt Lewin) ซึ่งเคยอยู่ในกลุ่มทฤษฎีของเกสตัลท์ และได้แยกตัวออกมาในภายหลัง
6.ทฤษฎีความยืดหยุ่นทางปัญญา (Cognitive Flexibility Theory)
7.ทฤษฎีโครงสร้างความรู้ (Schema Theory) มีนักจิตวิทยาที่สำคัญ คือ รูเมลฮาร์ทและออโทนี่ (Rumelhart and Ortony)

การนำทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยมประยุกต์ใช้ ในการจัดการเรียนการสอน
สามารถประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ตามความเชื่อของนักจิตวิทยาตามทฤษฎีกลุ่มนี้ มีความเชื่อว่า มนุษย์มีความแตกต่างกัน ทั้งในด้านความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ความสนใจและความถนัดในแต่ละคน ดังนั้นในการเรียนรู้ก็ต้องมีกระบวนการและขั้นตอนที่แตกต่างกัน ครูผู้สอนไม่จำเป็นต้องเสนอเนื้อหาทั้งหมดสามารถเสนอเนื้อหาทั้งหมดที่สมบูรณ์ ควรเสนอบางส่วน ผู้เรียนสามารถใช้ประสบการณ์เดิมมาเติมให้สมบูรณ์ การเสนอเนื้อหาของครูผู้สอน ควรมีความต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีและรวดเร็ว การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่หลากหลายช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้มากขึ้น การเสนอความคิดรวบยอดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นจะช่วยให้ผู้เรียนรู้ได้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมายการนำทฤษฎีปัญญานิยมมาประยุกต์ใช้ในการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้แก่ การใช้เทคนิคการสร้างความสนใจแก่ผู้เรียนก่อนเริ่มเรียน คำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนในแง่ของการเลือกเนื้อหาการเรียน กิจกรรมการเรียน การควบคุมด้วยตนเองก่อน หลัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น